วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

โครงงาน5บท

    
 กิตติกรรมประกาศ
     
             โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง น้ำยาล้างมือมะกรูด จะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีถ้าหากว่าไม่ได้รับความช่วยเหลือจาก อาจารย์ เพ็ชรศรี ทิพกนก ที่ช่วยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโครงงานและช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างการทำโครงงาน และขอขอบคุณผู้ปกครองที่ได้ให้การช่วยเหลือ เกี่ยวกับการวิธีทำ ส่วนผสม และสถานที่ในการทำโครงงานและได้ให้กำลังใจตลอดมา                                                                                                                                                                       
คณะผู้จัดทำโครงงานขอขอบคุณท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไว้มา ณ โอกาสนี้      

คณะผู้จัดทำ                                                                   

บทคัดย่อ
            
              
                         โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง น้ำยาล้างมือมะกรูด จัดทำขึ้นมาเพื่อมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการรักษาความสะอาดของมือของเราและป้องกันเชื้อโรคและปัจจุบันหลายคนใช้เจลล้างมือแบบไม่ใช้น้ำกันมาก เพื่อให้ทุกคนช่วยรักษาความสะอาดของมือเรา เนื่องจากมือของเราได้จับหลายสิ่งต่างๆมา ทำให้ในมือของเรามีเชื้อโรคติดอยู่ ทางเราจึงได้คิดสิ่งประดิษฐ์นี้ขึ้นมาเพื่อจะทำให้มือเราสะอาดและไม่มีเชื่อโรและถ้าหากมือของเราไม่สะอาด แล้วไปสัมผัสกับร่างกายของเรา เช่น ปาก ตา หรือจมูก ก็จะทำให้เชื้อโรคติดเข้าไปข้างในร่างกายเราได้ อาจจะทำให้เราเป็นโรคมือเท้าปากได้ ดังนั้นทางเราจึงคิดที่จะทำสิ่งประดิษฐ์นี้ขึ้นมา จะสามารถใช้ได้สะดวก และใช้ได้ตลอดเวลาและอีกอย่างน้ำยาล้างมือนี้ยังทำมาจากสมุนไพรที่หาง่ายอีกทั้งยังไม่เป็นอันตรายของร่างกายและยังปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม จึงแนะนำให้ใช้น้ำยาล้างมือที่ทำจากมะกรูดที่หาง่าย และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมอีกทั้งยังทำให้มือของเราละอาดปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆได้

บทที่ 1

ที่มาและความสำคัญ
ที่มาและความสำคัญ
               
            ปัจจุบัน เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเชื้อโรคได้เลย เราต้องเดินทางไปมาในสังคมส่วนรวมเป็นประจำ ทำให้โอกาสติดเชื้อโรคหรือล้มป่วยจึงมีมากขึ้น ด้วยเหตุนั้นจึงมีมาตรการป้องกันเชื้อโรคหลายๆด้านหนึ่งในนั้นคือน้ำยาล้างมือ น้ำยาล้างมือมีประโยชน์อย่างมาก แต่บางคนก็ไม่ชอบใช้น้ำยาเพราะมีกลิ่นแอลกอฮอล์ ทางคณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นปัญหานี้จึงได้จัดทำน้ำยาล้างมือกลิ่นมะกรูดขึ้นมาเพื่อสุขอนามัยของผู้ใช้

วัตถุประสงค์
1.สร้างความหลากหลายของน้ำยาล้างมือเพื่อให้ผู้ใช้เลือกใช้ได้ตรงตามความต้องการของตนเอง
2.ให้ผู้คนหันมาสนใจการใช้น้ำยาล้างมือเพื่อป้องกันเชื้อโรค

ขอบเขตโครงงาน
                1.สามารถนำผลิตภัณฑ์มาใช้เอง โดยราคาที่ได้จะย่อมเยากว่าห้างสรรพสินค้า
                2.สามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้
                3.ทำให้ได้รู้สรรพคุณของสมุนไพรที่นำมาทำผลิตภัณฑ์
              
                วิธีดำเนินงาน
                1.กำหนดหัวเรื่องที่จะทำ
                2.แบ่งงานให้สมาชิกแต่ละคน
                3.จัดมาอุปกรณ์ ส่วนผสมที่จะทำ
                4.ลงมือปฏิบัติตามที่วางแผน
                5.ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้
                6.หากล้มเหลวต้องช่วยกันศึกษาและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
                7.คำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมด

บทที่ 2


 เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง


มะกรูด เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย
 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้ว ยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
        เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซ๋นติเมตร ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ซึ่งผลแบบนี้เรียกว่า hesperitium (ผลแบบส้ม) ใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 35 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมากๆ


บทที่3

วิธีดำเนินงาน
 แนวทางการดำเนินงาน
                 หาข้อมูลเกี่ยวกับน้ำยาล้างมือจากมะกูดเพื่อทำผลิตภัณฑ์

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทำ
1.N70              2.มะนาว(ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว)             
3.เกลือ             4.น้ำสะอาด               
5.ถัง                 6.ไม้พาย                    
7.ผ้าขาวบาง

วิธีทำ
1.นำ N70 เทลงในถัง
2.นำเกลือและน้ำมาเทลงในถัง
3.ใช้ไม้พายคนไปในทิศทางเดียวกันตามเข็มนาฬิกา
4.นำผ้าขาวบางมาปิดไว้พักไว้ 1 คืน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
 1.สามารถใช้ป้องกันเชื้อโรคได้
 2.สามรถต่อยอดความคิดพัตนาให้เป็นรายได้
 3.มีความรู้ความเข้าใจในการทำน้ำยาล้างมือใช้เอง

สถานที่ดำเนินการ
        โรงเรียนลำปางกัลยาณี




บทที่4


ผลการศึกษา

จากการทดลองและทำผลิตภัณผลิตภัณฑ์พบว่าผลิตภัณฑ์มีกลิ่นตามวัตถุประสงค์

 บทที่ 5



สรุปผล อภิปรายผลผล และข้อเสนอแนะ
 
 
สรุปผล

          จากการทำโครงงานครั้งนี้ทำให้คณะผู้จัดทำได้เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำน้ำยาล้างมือมะกรูดได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำสิ่งที่มีในครัวเรือนมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ซึ่งก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆและได้ผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นและสีที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

  อภิปราย

 คุณภาพของน้ำยาล้างมือมะกรูด

1.สามารถทำความสะอาดเชื้อโรคที่มีอยู่บนมือได้
2.มีกลิ่นหอม สีสันสวยงามเป็นธรรมชาติ ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้
3.สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน
4.นำมาเป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

 ลู่ทางการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
1.สามารถทำเองที่บ้านได้ ลดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน
2.เพื่อความสะดวกสบาย
3.นำมาเป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่อเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว
4.เป็นการฝึกทักษะในการคิดค้นทดลอง โดยนำสิ่งที่มีในครัวเรือนมาแปรรูป ให้เกิดประโยชน์

 ประโยชน์ที่ได้รับ

1.พัฒนาทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ และทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
2.ริเริ่มสร้างสรรค์การนำเอาสิ่งที่มีในครัวเรือนมาแปรรูปให้เกิดประโยชน์
3.ใช้เวลาว่างที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์

 ข้อเสนอแนะ

1.ควรเพิ่มกลิ่นให้มีความหอมมากๆมีหลากหลายกลิ่น
2.นำผลงานไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น นำไปวางตามบริเวณต่างๆของโรงเรียน

ที่มา
http://www.slideshare.net/AekapojPoosathan/5-31018403
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%94 


วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559



เทคโนโลยีสมัยใหม่
  

กล้องแคปซูล (Capsule Endoscopy)


กล้องแคปซูล Capsule Endoscopyกล้องแคปซูล Capsule Endoscopyกล้องแคปซูล Capsule Endoscopy
กล้องแคปซูล (Capsule Endoscopy) คือ นวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัย โรคในระบบทางเดินอาหาร กล้องชนิดนี้สามารถตรวจได้ถึงส่วนที่ลึกที่สุดของลำไส้เล็ก ในจุดที่การส่องกล้องทั่วไปเข้าไม่ถึง สามารถให้้ผลการตรวจที่ละเอียด ถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ
อุปกรณ์หรือกล้องสำรวจทางเดินอาหารมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับยาเม็ดชนิดแคปซูล ทำให้สามารถกลืนได้สะดวกและปลอดภัย กระบวนการตรวจเริ่มจากให้คนไข้กลืน กล้องแคปซูล พร้อมกับน้ำ กล้องจะเคลื่อนที่ไปตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหารตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก จนสิ้นสุดที่ลำไส้ใหญ่
จากนั้นกล้องแคปซูลนี้จะออกมาพร้อมกับการถ่ายอุจจาระ ซึ่งไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อร่างกายผู้ถูกตรวจโดยภาพภายในทางเดินอาหารจะถูกบันทึกไว้ที่เครื่อง ซึ่งเชื่อมต่อจากภายนอก ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 7 ชั่วโมง โดยสามารถบันทึกภาพได้ 2 ภาพต่อวินาที และเก็บภาพได้ถึง 50,000 ภาพ

ที่มา
http://www.phukethospital.com/Thai/Hospital-Innovation/Capsule-Endoscopy.php
























              

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เทียนหอมจากใบเตย


           ประโยชน์ของใบเตย
    1. ใบเตยหอม สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น และช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ (น้ำใบเตย)
  1. การดื่มน้ำใบเตยจะช่วยดับกระหายคลายร้อนได้เป็นอย่างดี เพราะใบเตยมีกลิ่นหอมเย็นทานแล้วจึงรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย
  2. รสหวานเย็นของใบเตย ช่วยชูกำลังได้
  3. การดื่มน้ำใบเตยช่วยแก้อาการอ่อนเพลียของร่างกายได้
  4. ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
  5. ผู้ที่มีธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุไฟนั้นการรับประทานอาหารที่ปรุงจากใบเตยจะช่วยทำให้รู้สึกเย็นสบายสดชื่นได้
  6. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งตามตำรับยาไทยได้มีการนำใบเตยหอม 32 ใบ, ใบของต้นสัก 9 ใบ นำมาหั่นตากแดด แล้วนำมาชงเป็นชาดื่มอย่างน้อย 1 เดือน หรือจะใช้รากประมาณ 1 กำมือนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าเย็นก็ได้เหมือนกัน (ใบ,ราก)
  7. ช่วยลดความดันโลหิต (สารสกัดน้ำจากใบเตย)
  8. ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
  9. ใบเตย สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการอาการและดับพิษไข้ได้
  10. ใบเตยช่วยดับพิษร้อนภายในได้เป็นอย่างดี
  11. ใช้รักษาโรคหืด (ใบ)
  12. สรรพคุณใบเตยใช้เป็นยาแก้กระษัย (ต้น,ราก)
  13. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ด้วยการใช้ต้น 1 ต้นหรือจะใช้รากครึ่งกำมือก็ได้ นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ราก,ต้น)
  14. สรรพคุณของใบเตยใช้รักษาโรคหัดได้
  15. ใบเตยสดนำมาตำใช้พอกรักษาโรคผิวหนังได้
  16. ประโยชน์ใบเตย มีการนำใบเตยมาใช้แต่งกลิ่นอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นของหวานต่าง ๆ อย่าง ขนมลอดช่อง ขนมชั้น รวมไปถึงเค้กและสลัด เป็นต้น
  17. มีการนำใบเตยมาทุบพอแตก นำไปใส่ก้นลังถึงสำหรับนึ่งขนม จะทำให้ขนมที่สุกแล้วมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมาก
  18. ใช้ใบเตยลองก้นหวดสำหรับนึ่งข้าวเหนียว เมื่อข้าวสุกแล้วจะทำให้มีกลิ่นหอมมาก
  19. สีเขียวของใบเตยเป็นสีของ คลอโรฟิลล์ สามารถนำมาใช้แต่งสีขนมได้
  20. ใช้ใบเตยสดใส่ลงไปในน้ำมันที่ใช้แล้ว แล้วตั้งไฟให้ร้อนแล้วค่อยตักใบเตยขึ้น จะทำให้น้ำมันไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ทำให้น้ำมันที่ใช้ทอดมีกลิ่นเหมือนน้ำมันใหม่ใบสามารถใช้ไล่แมลงสาบได้
  21. ประโยชน์ของใบเตยกับการนำมาใช้ทำเป็นทรีทเม้นท์สูตรบำรุงผิวหน้า ด้วยการใช้ใบเตยล้างสะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาปั่นรวมกับน้ำสะอาดจนละเอียด จะได้ครีมข้นเหนียวแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที



สรรพคุณของเทียนหอม
1.     เทียนหอมนั้นทำให้มีความสวยงามภายในบรรยากาศต่างๆและสามารถสร้างแสงสว่างให้แก่เราด้วยการจุดไฟ
2.     สามารถใช้และประดับตกแต่งในสถานที่ต่างๆ ซึ่งใช้ในโอกาสต่างๆที่สวยงามและเป็นพิธีมงคล และสถานที่ปกติเพื่อต้องความสวยงาม
3.     ทำเป็นเทียนวันเกิดได้โดยเทียนเหล่านี้เป็นเทียนสวยงาม รู้สึกดีกว่าการใช้เทียนแบบเดิมๆที่เป็นเทียนปกติ
4.     สามารถดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ได้นั่นเป็นเพราะว่าเทียนหอมนั้นมีกลิ่นที่หอม
5.     สามารถใช้เป็นของชำร่วยในงานเช่น งานแต่งงาน และงานบวชต่างๆ
6.     สามารถจุดไล่ยุงได้ ซึ่งการจุดไล่ยุงนั้นจะเป็นเทียนหอมกลิ่นตะไคร้หอม

      วัสดุที่ใช้ทำเทียนหอม
ได้แก่ พาราฟิน โพลีเอสเตอร์ น้ำหอม ไส้เทียน และสีเคลือบดอก
1. พาราฟิน ๑ กิโลกรัม
2. บีแวกซ์ ๑ ขีด
3. เทียนเหนียว ๑ ขีด
4. สีเทียน หรือ สีน้ำมันผง
5. ไส้เทียน
6. หัวน้ำหอมกลิ่นที่ชอบ ๑๕ ซีซี
7. พิมพ์รูปต่าง ๆ

      วิธีทำ
 ผสมพาราฟิน และแว๊กซ์ในสัดส่วนที่เท่ากัน ( ถ้าชั่งเป็นน้ำหนักให้ใช้ สัดส่วนพาราฟิน 100 กรัม ต่อแว๊กซ์ 30 กรัม) ต้มจนหลอมละลายเข้ากัน ผสมสี (ให้ แผ่นสีเทียน หรือสีมัตสุตะ) ผสมให้เข้ากันดี ยกหม้อลงจากเตา ใส่หัวน้ำ หอม กลิ่นที่ชอบ ทิ้งให้ส่วนผสมเย็นลงเล็กน้อย (สังเกตุดูเทียนจะเริ่มขุ่น)
ใส่ไส้เทียน ในพิมพ์ให้ยาวพ้นพิมพ์ประมาณ 4 - 5 ซ.ม. เทเทียนที่ยังร้อนอยู่ ประมาณ 92 องศา) ลงในพิมพ์ ทิ้งให้เย็น จึงค่อยแกะออกจากพิมพ์

ที่มา https://sites.google.com/site/suree2535/xupkrn


วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การประมวลผลสารสนเทศ (information processing)

การประมวลผลสารสนเทศ หมายถึง การดำเนินการต่างๆกับข้อมูลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความหมายและมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานมากยิ่งขึ้น เช่น การรวบรวมข้อมูล การคำนวณ การค้นคืน การแสดงผล การสำเนาข้อมูล

ที่มา หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน สารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑